Last updated: 12 เม.ย 2565 | 456 จำนวนผู้เข้าชม |
กรมการขนส่งทางรางขึ้นเหนือบุกลำปางมุ่งรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหวังตอบโจทย์ระบบรางเป็นการขนส่งระบบหลักของประเทศ
ดร.พิเชฐ
คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า
โครงการ R-map กรมการขนส่งทางรางศึกษาระยะเวลา 1
ปีระหว่างกรกฎาคม 2564 ถึง กรกฎาคม 2565
ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ประกอบการ
และประชาชนในพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาคราชการและภาคเอกชนทั่วทั้งประเทศ
โดยจะมี การจัดทั้งหมด 5 ครั้ง
ในภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันตก
โดยได้มีกาารจัดในครั้งแรก
จัดที่กรุงเทพฯ
ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดอำนาจเจริญ
และการจัดงานในจังหวัดลำปางนี้นับเป็นการจัดงาน ครั้งที่
3
โครงการรถไฟภาคเหนือมีเส้นทางรถไฟทางคู่ที่อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างหนึ่งเส้นทาง
คือ
เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
และมีสองโครงการที่อยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ
คือเส้นทางปาก
น้ำโพ-เด่นชัย
และเส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่
ซึ่งคาดว่าคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติก่อสร้างภายในปี 2565
นี้
สำหรับโครงการรถไฟสายใหม่
ช่วง แม่เมาะ-งาว ระยะทาง 70 กิโลเมตร
โดยทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับโครงการทางรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วง
เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่สถานีงาว
ทิศใต้เชื่อมต่อกับทางรถไฟช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่
โดยมีทางเลือกที่จะเชื่อมต่อที่สถานีแม่เมาะหรือสถานีแม่จาง
เส้นทางดังกล่าวจะเป็นโครงข่ายรถไฟสายรองที่เชื่อมต่อเข้าไปยังแหล่งผลิตโดยตรง
โดยผ่านพื้นที่ กฟผ.แม่เมาะ ที่มีพื้นที่กว่า 90,000 ไร่
ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับเกษตรกร
และ ผู้ประกอบการในเขตจังหวัดภาคเหนือ
เพิ่มความคุ้มค่าการลงทุนของภาครัฐ
ในโครงการพัฒนาระบบขนส่งรถไฟรางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
และ เด่นชัย-เชียงใหม่
ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนผ่านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับสินค้าเกษตรและอาหารในอนาคต
นายจำลักษ์
กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า
จังหวัดลำปางมีรถไฟมาแล้วกว่า 100 ปี
และมีอุโมงค์ขุนตานซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕
ได้สรุปปัญหาและความต้องการโดยรวมของจังหวัด พบว่า
ประชาชนมีปัญหาทางการเกษตร เช่น
ปริมาณสับปะรดและข้าวโพดล้นตลาด
มีราคาตกต่ำและขาดตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตรเหล่านั้น
อีกทั้งจังหวัดลำปางยังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ประชาชนในวัยแรงงานส่วนใหญ่
อพยพไปตั้งถิ่นฐานในเมืองใหญ่หรือแหล่งอุตสาหกรรม
ตลอดจนมีความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อไปยังชายแดน
สปป. ลาว ซึ่งปัจจุบันได้มีการเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนแล้ว
ดังนั้น
หากจังหวัดลำปางมีเส้นทางรถไฟที่พาดผ่านอำเภอแม่เมาะซึ่งทาง
กฟผ. แม่เมาะ
มีแผนที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรให้กับเกษตรกรที่เป็นปัญหามายาวนาน
และประเด็นสำคัญ
โครงการนี้จะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางและการขนส่งสินค้า
ทั้งสินค้านำเข้าหรือสินค้าส่งออกไปยังชายแดนเชียงของ
ซึ่งเป็นการพัฒนาและเพิ่มความสะดวกให้การค้าชายแดน ไทย –
ลาว ในอนาคต เป็นประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม
โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดลำปางเป็น Land Link มากกว่าจะเป็น
Land Pass
โดยคาดหวังให้มีคนเข้ามาอยู่อาศัยและมีการจ้างงานในพื้นที่มากขึ้น
ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า
เมื่อมีความสะดวกในการคมนาคม ความเจริญก็จะเข้ามา
เกิดการ
กระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ
สู่อำเภอ และชุมชน และคิดว่าหากโครงการนี้
เกิดขึ้นโดยเร็วจะเป็น
ประโยชน์อย่างยิ่งกับประชาชนในจังหวัดลำปาง
ซึ่งจะทำให้ประชาชนไม่ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ
หรือแหล่งอุตสาหกรรม
เกษตรกรก็มีรายได้เพิ่มขึ้น