Last updated: 23 เม.ย 2565 | 332 จำนวนผู้เข้าชม |
23
เมษายน2565 ที่ดีวาน่าพลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
กรมการขนส่งทางราง จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น
“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม
และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ
(R-map) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
สมาคมผู้ประกอบการ และประชาชนจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต
สุราษฎร์ธานีที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนา ทั้งในห้องสัมมนา
และออนไลน์
โดย
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง
เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ
ร่วมกับนายสมชาย
หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นายพิเชฐ
คุณาธรรมรักษ์ กล่าวว่า กรมการขนส่งทางราง
ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศให้เป็นมาตรฐาน
และเสนอแนะนโยบาย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางของประเทศ
รวมถึงแผนการพัฒนาด้านการขนส่งทางราง
ศึกษาและพัฒนาเพื่อกำหนดโครงข่ายการขนส่งทางราง
จึงมีความจำเป็น
ต้องดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม
และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ
เพื่อทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่าย
ทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ
การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่ และศึกษาความเป็นไปได้
ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุม
และเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศ และรองรับการขนส่งต่อเนื่อง
หลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ
โดยจะเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายเดิมกับแหล่งเกษตรกรรม
แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม และประเทศเพื่อนบ้าน
รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค
ทั้งในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่าง
ๆ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ การกระจายโอกาส
การพัฒนาความเจริญสู่ระดับจังหวัด และภูมิภาค
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน
สำหรับการวางแผนโครงข่ายเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
เวทีการสัมมนาได้เสนอเส้นทางโครงข่ายรถไฟ
สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต
โดยจะเป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเขตทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
โครงการดังกล่าวจะเชื่อมท่าเรือดอนสัก ซึ่งเป็นท่าเรือหลัก
ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ใช้เดินทางไปเกาะสมุย
กับสนามบินภูเก็ต โดยแนวเส้นทาง ผ่านพื้นที่บ้านท่าฉัตรไชย
จ.ภูเก็ต
ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการที่ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน
Specialised Expo 2028 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า
และเส้นทางทับปุด-กระบี่
ซึ่งแยกจากเส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต
ที่สถานีทับปุด ลงมาเชื่อมต่อกับสนามบินกระบี่ ระยะทาง 68
กิโลเมตร ครอบคลุมเขตพื้นที่จังหวัดพังงา 1 อำเภอ คือ
ทับปุด และกระบี่ 2 อำเภอ คือ อ่านลึกและเมืองกระบี่
แนวเส้นทางจะเป็นการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1
เมตร
รองรับความเร็วสูงสุดที่
160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งทำให้เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวผ่าน
4 จังหวัด สุราษฎร์ธานี-พังงา-กระบี่-ภูเก็ต
เชื่อมสนามบินภูเก็ต กระบี่ และท่าเรือดอนสัก
โดยที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวทางทะเล
ในพื้นที่ภาคใต้มากกว่า 30 ล้านคนต่อปี
นายสมชาย
หาญภักดีปฏิมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า
ที่ผ่านมาภาครัฐได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกควบคู่กันไปเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
เช่น ท่าอากาศยาน ท่าเทียบเรือ ถนน
เพื่อให้การท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่สามารถรองรับและให้บริการนักท่องเที่ยวได้ทั้งการบริการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
และโครงสร้างพื้นฐาน
ส่งผลให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบาย
เกิดความประทับใจ
จึงเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
จนเป็นจังหวัดที่สามารถสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศได้สูงเป็นลำดับที่
5 รองจากกรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี และเชียงใหม่
ขณะเดียวกัน
ในภาคเกษตรกรรมการปลูกปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักก็ขยายพื้นที่ปลูกมากเป็นลำดับต้นของประเทศ
ส่งผลให้เกิดภาคอุตสาหกรรมตามมา คือ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
โดยมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบและลานเทเป็นจำนวนมาก
ในอนาคตหากมีเส้นทางรถไฟเข้ามาจังหวัดกระบี่ก็จะเป็นทางเลือกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ
และยังเป็นทางเลือกในการลดต้นทุนการขนส่งให้กับผู้ประกอบการได้อีกด้วย
Cr.นิตยา
มณีรัตน์/รายงาน