ขยายโครงข่ายการเดินทางมิติใหม่ เปิดประตูเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ด้วยรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 2 เส้นทาง “นครราชสีมา – หนองคาย”

🚆 รถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 2 “นครราชสีมา – หนองคาย” ระยะทาง 357 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 1 ชั่วโมง 52 นาที ด้วยอัตราค่าโดยสารประมาณ 722 บาท เชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทางต่อจากสถานีนครราชสีมาไปอีก 5 สถานี แต่ยังคงสามารถเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งรูปแบบอื่นได้อย่างไร้รอยต่อเช่นเดียวกัน

1. สถานีบัวใหญ่ 🛤️

• รถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

• รถสามล้อเครื่อง, รถจักรยานยนต์รับจ้าง

• (อนาคต) รถโดยสารประจำทางเส้นทางสถานีรถไฟบัวใหญ่ – แยกนานิคม และสถานีรถไฟบัวใหญ่ – สถานีขนส่งผู้โดยสาร – สถานีรถไฟบัวใหญ่

2. สถานีบ้านไผ่ 🚝

• รถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

• รถสามล้อเครื่อง, รถจักรยานยนต์รับจ้าง

3. สถานีขอนแก่น 🚝🏫🦖

• รถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

• รถสองแถว สาย 3 (บขส. 3 – บ้านพรหมนิมิตร), 14 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประตูมอดินแดง) –

บ้านโนนตุ่น), 17 (บ้านโนนทัน – บ้านโคกท่า), 24 (วงกลมสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 3)

• รถสามล้อเครื่อง, รถจักรยานยนต์รับจ้าง

• (อนาคต) รถไฟฟ้ารางเบานำร่องเส้นทางรอบเมือง และสำราญ – ท่าพระ

4. สถานีอุดรธานี 🚅

• รถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

• รถสองแถว สาย 7 (สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 2 – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 1 – บ้านเก่าจาน), 14 (สถานีรถไฟอุดรธานี – บ้านหนองน้ำเค็ม)

• รถสามล้อเครื่อง, รถจักรยานยนต์รับจ้าง

• (อนาคต) รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า เส้นทางสถานีรถไฟอุดรธานี – สถานีขนส่งผู้โดยสาร และสถานีรถไฟอุดรธานี – สนามบินนานาชาติอุดรธานี

5. สถานีหนองคาย 🌉

• รถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

• รถไฟลาว – จีน (LCR)

• รถสองแถว สาย 2 (สถานีขนส่งผู้โดยสารหนองคาย – ศูนย์ราชการ – มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย))

• รถสามล้อเครื่อง (สกายแลป)

• (อนาคต) รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์รับจ้าง

📋 ที่มาข้อมูล:

• งานออกแบบรายละเอียดงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน ระยะที่ 2 (นครราชสีมา – หนองคาย)

• รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาการวางแผนเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง จังหวัดนครราชสีมา

• ขบ. สนข. รฟท.

———————————————–

🚆 เสริมศักยภาพโครงข่ายระบบรางของประเทศไทย เชื่อมโยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ด้วยรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 2 (นครราชสีมา – หนองคาย) โอกาสใหม่ในการเดินทางระบบราง ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์

Skip to content