แนวปฏิบัติในการบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (RoPA)

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำหนดกรอบการทำงานของผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) โดยอ้างอิงจากมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องการจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities: RoPA) เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และหน่วยงาน สามารถตรวจสอบได้

โดยในทุกกิจกรรมที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องมีการจัดทำตารางบันทึกการประมวลผล ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

1. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

ชื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลขร.
ที่อยู่อาคาร ณ ถลาง ชั้น 4-5, 514/1 ถนนหลานหลวง แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ข้อมูลการติดต่อ
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO ถ้ามี)รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง
ผู้ประสานงาน/ผู้แทน (ถ้ามี)กลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ของ ขร.

2. บันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities: RoPA) แยกออกเป็น 2 ตาราง ตารางที่ 2.1 และ ตารางที่ 2.2 คือ ตารางที่ 2.1 จัดเก็บข้อมูลหลัก (ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง) และตารางที่ 2.2 กิจกรรมของข้อมูล (แยกตามรายการเปลี่ยนแปลง)

ตารางที่ 2.1 จัดเก็บข้อมูลหลัก

ลำดับชื่อรายการตัวอย่างการบันทึก
1ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการติดต่อ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมลข้อมูลเกี่ยวกับการอบรม เช่น สถิติการเข้าเรียนการส่งงาน ผลการทดสอบ และ ไฟล์นำเสนอข้อมูลภาพถ่ายกิจกรรมระหว่างการอบรม
2วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม1 ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เพื่อใช้สำหรับติดต่อ จัดการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (ระยะเวลาหลักสูตร 3 เดือน)
2 ข้อมูลเกี่ยวกับการอบรม เพื่อใช้ประกอบการจัดอบรมให้สำเร็จตามเป้าหมาย
3 ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เพื่อใช้จัดเก็บเป็นทำเนียบรุ่น
4 ข้อมูลภาพถ่ายกิจกรรมระหว่างการอบรม เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลการจัดอบรม และ แบ่งปันให้ผู้เข้าอบรมได้เรียกดูย้อนหลัง
3ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูล
ส่วนบุคคล
ขร.
4ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูล
ส่วนบุคคล
1 ข้อมูลสำหรับการติดต่อ 10 ปี (ตั้งแต่รับสมัครจนกระทั่งจัดหลักสูตรอบรมเสร็จสิ้น และเก็บต่อเนื่องเป็นทำเนียบรุ่น เพื่อการติดต่อสังสรรค์หรือสร้างความร่วมมือในอนาคต)
2 ข้อมูลเกี่ยวกับการอบรม 3 เดือน เพียงเพื่อให้การจัดอบรมสำเร็จตามเป้าหมาย
3 ข้อมูลภาพถ่ายกิจกรรมระหว่างการอบรม 10 ปี เพื่อให้ทีมงานสามารถสืบค้นย้อนหลังเพื่อประโยชน์ในประชาสัมพันธ์ การปรับปรุงหลักสูตร และเพื่อใช้เตือนความจำ
5สิทธิและวิธีการเข้าถึงข้อมูล ส่วนบุคคล รวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและเงื่อนไขในการเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น1 เฉพาะเจ้าหน้าที่ของ ขร. ที่ทำหน้าจัดการฝึกอบรม สามารถเข้าถึงได้ผ่านคลาวด์เก็บข้อมูลกลางของทีมงาน
2 ผู้เข้าร่วมอบรมในแต่ละรุ่นสามารถเข้าถึงรายชื่อทำเนียบรุ่นนั้น พร้อมข้อมูลสำหรับติดต่อ
6การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอ ความยินยอม1 ขร. ได้นำข้อมูลไปทำสถิติและหาความสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรกับความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรของผู้เข้าร่วมการอบรมโดยไม่ระบุชี้จำเพาะตัวบุคคล
2 ขร. ได้นำส่งรายชื่อ และผลการประเมินของผู้เข้ารับการอบรมให้กับต้นสังกัดที่อนุมัติให้เข้าร่วมการอบรม
3 ขร. ได้นำส่งจำนวนผู้ผ่านการอบรมแก่สำนักงาน กพร. เพื่อรายงานสถานะการพัฒนากำลังคน แยกเป็นรายปี และรายหน่วยงาน    
7มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 37 (1)อธิบายมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลครอบคลุมอย่างน้อย 3 ประเด็นดังนี้
1) การธำรงไว้ซึ่งความลับ (confidentiality)
2) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity)
3) สภาพพร้อมใช้งาน (availability)
ของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมิชอบ เช่น การกำหนดสิทธิเข้าใช้งานเป็นไปตาม ความจำเป็น (Least Privilege)

ตารางที่ 2.2 กิจกรรมของข้อมูล

ลำดับชื่อรายการตัวอย่างการบันทึก
8การปฏิเสธคำขอหรือการคัดค้าน 
8.1ตามมาตรา 30 วรรคสาม– คำขอเข้าถึงข้อมูลของนาย……………………………………………….
เมื่อวันที่……………… ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก………………………..
– คำขอสำเนาข้อมูลของนาย……………………………………………….
เมื่อวันที่……………… ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก………………………..
– คำขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล
ดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมของนาย…………………..
เมื่อวันที่……………… ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก……………………….
8.2ตามมาตรา 31 วรรคสาม– คำขอของนาย…………………………..เมื่อวันที่……………………………….
เพื่อให้โอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยัง………………………………………….
ด้วยวิธีการอัตโนมัติได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก…………………………….
– คำขอของนาย…………………………..เมื่อวันที่……………………………….
ซึ่งร้องขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกส่งไปยัง……………………..
(ระบุชื่อผู้ควบคุมข้อมูลรายที่รับข้อมูลไปจากรายต้นทาง)……..
ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก……………………………………………………………..
8.3ตามมาตรา 32 วรรคสามคำขอใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
ข้อมูลส่วนบุคคลของนาย……………..เมื่อวันที่………………
ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก………………………………………………..
8.4ตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งคำขอให้ปรับปรุงข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ ของนาย………………………..
เมื่อวันที่………………………………………………………….
ได้ถูกปฏิเสธเนื่องจาก……………………………………

หมายเหตุ

1. ข้อมูลต่าง ๆ ที่บันทึกในตารางข้างต้นเป็นขั้นต่ำตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด ผู้ใช้งานสามารถปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
2. เมื่อนำไปใช้งานจริง ตารางต่าง ๆ สามารถนำไปพัฒนาลงในฐานข้อมูล หรือ จัดเก็บด้วยซอฟต์แวร์ประเภทสเปรดชีตามที่ผู้ใช้เห็นสมควร หรืออาจจะพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์/ออฟไลน์ได้
3. การพัฒนากระดานรายงานข้อมูล (dashboard) สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้เองตามที่ต้องการ

Skip to content