การประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ครั้งที่ 2/2564

การประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2/2564 โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธาน พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย โดยโครงการได้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา และระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงาน รวมถึงเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ เพื่อปรับปรุง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก่อนรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ต่อไป โดยวัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้เพื่อเป็นการเร่งรัดการเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งโครงการรถไฟจีน – ลาว เตรียมเปิดดำเนินการในวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพมหานคร ถึงนครหลวงเวียงจันทน์ และมีปลายทางที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ซึ่งโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการเชื่อมโยงอนุภูมิภาคที่จะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2569 และโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ให้แล้วเสร็จในปี 2571 ต่อไป

การประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 1/2564 โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธาน พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย โดยโครงการได้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา และระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงาน รวมถึงเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ เพื่อปรับปรุง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อไปโดยสถานะการดำเนินการโครงการในปัจจุบัน มีรายละเอียด ดังนี้

ความก้าวหน้าโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมามีทั้งหมด 6 สถานี ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา แบ่งสัญญางานโยธาออกเป็น ทั้งหมด 14 สัญญา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตรก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 สัญญา เตรียมการก่อสร้าง 3 สัญญา และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง 3 สัญญา โดยจะเปิดให้บริการในช่วงปี 2569

ความก้าวหน้าโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคายเป็นส่วนต่อขยาย ของโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา มีสถานีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย รวมระยะทางโดยประมาณ 356.01 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ เชื่อมต่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสถานะของโครงการระยะที่ 2 ปัจจุบันออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจะเปิดให้บริการในช่วงปี 2571

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์