การประชุมด้านเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระหว่างกรมการขนส่งทางราง และหน่วยงานจากญี่ปุ่น

วานนี้ (21 มิ.ย. 64) นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือด้านเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ผ่านระบบการประชุมทางไกลด้วยวิดีทัศน์ โดยมีผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้แทนจากฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย ผู้แทนจาก Railway Bureau Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (MLIT) Japan Railway Construction, Transport and Technology Agency (JRTT) และ Embassy of Japan โดยประเด็นการหารือ ประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่

1.) ผลกระทบการดำเนินโครงการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นจะดำเนินการศึกษาผลกระทบในประเด็นผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ของประเทศไทย

2.) กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในประเทศญี่ปุ่น ที่ฝ่ายญี่ปุ่นได้นำเสนอกรณีศึกษาของสถานีโทยาม่า (Toyama Station) และสถานีชินโทสุ (Shin-tosu Station) ซึ่งเป็นสถานี
ที่รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่าน

3.) เส้นทางลพบุรีในแง่ของภูมิทัศน์ และการเข้าถึงสถานี รวมถึงปริมาณผู้โดยสาร ที่ฝ่ายญี่ปุ่นได้แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร (Station Plaza) และการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ (Feeder) ระหว่างประชาชนสู่ระบบรถไฟความเร็วสูงที่จะนำมาซื่งการพัฒนาพื้นที่ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น โดยจะใช้การออกแบบจากสถานีรถไฟชินคันเซ็น (Shinkansen) ในประเทศญี่ปุ่นที่จะพัฒนาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสาร ขนาดเมือง และจุดที่ตั้งสถานีมาเป็นรูปแบบในการพัฒนาสถานีลพบุรี

พร้อมนี้ฝ่ายญี่ปุ่นได้มีการนำเสนอแผนการศึกษาในปี 2021 และทางกรมการขนส่งทางรางได้มีแจ้งความก้าวหน้าระบบรางในเส้นทางสายเหนือให้กับฝ่ายญี่ปุ่นได้รับทราบ โดยจะมีการประชุมครั้งต่อไปในเดือนกันยายน 2564 ต่อไป

หน่วยงานที่ประกาศ

กรมการขนส่งทางราง

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์