กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมให้ความเห็นเกี่ยวกับจัดทำระบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการขนส่งทางรางในแต่ละสายทางของประเทศ ครั้งที่ 2

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดประชุมคณะทำงานให้ความเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาและการจัดทำระบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการขนส่งทางรางในแต่ละสายทางของประเทศ ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมมนังคสิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง ขร. โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. และผู้แทนจากหน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางรางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 หน่วยงาน ได้แก่ รฟท. รฟฟท. รฟม. BEM BTSC บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ศสช. สคร. KT และ กทม. เข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom

จากการดำเนินการที่ผ่านมาได้มีการกำหนดร่างตัวชี้วัดประสิทธิภาพขนส่งทางราง 2 ประเภท ได้แก่ 1.รถไฟโดยสาร และ 2.รถไฟขนส่งสินค้า ซึ่งแต่ละประเภทจะมีระดับการประเมินอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับ Executive (ยุทธศาสตร์) 2. ระดับ Management (กลยุทธ์) 3. ระดับ Operation (ปฏิบัติการ) โดยในแต่ละระดับจะมีการกำหนดตัวชี้วัดด้านต่างๆ ดังนี้ ประสิทธิภาพของระบบ ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรบุคคล ประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน ประสิทธิภาพด้านการเงิน ประสิทธิภาพด้านการบริการ และประสิทธิภาพการจัดการด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้าโดยได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้
1. กำหนดกรอบการกำกับดูแลประสิทธิภาพระบบรางของไทย ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ก่อนเข้าตลาดรางในเรื่องการให้อนุญาต 2) การดูแลการประกอบการ 3) แผนงานในอนาคต ซึ่งภายใต้กรอบดังกล่าวจะครอบคลุม
2. เสนอแนะประเด็นในการกำกับดูแลประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ operational performance , Customer Service และ Business Performance
3. เสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนการกำกับดูแลฯ โดยกำหนดขั้นตอนสำหรับการกำกับดูแล 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนเชิงกลยุทธ 2) การติดตามตรวจสอบ 3) การสืบค้นสาเหตุ 4) การกำกับเพื่อดำเนินการ 5) การติดตามผลการกำกับ
4. เสนอแนะกลไกการขับเคลื่อนโดยหน่วยขับเคลื่อน (DU) เพื่อเป็นผู้ดำเนินการขับเคลื่อนการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพ

สำหรับการดำเนินการในลำดับถัดไปจะมีการเพิ่มรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการกำกับดูแล และการขับเคลื่อนการกำกับดูแลพร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างจากกรณีศึกษา รวมทั้งดำเนินการเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการกำกับดูแลและชุดตัวชี้วัดที่ได้จัดทำในโครงการนี้ และดำเนินการเชื่อมโยงการจัดตั้งหน่วยขับเคลื่อนกับโครงสร้างการดำเนินงานภายในของ ขร. และดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้อำนาจในการกำกับดูแลตาม พรบ. ของกรมการขนส่งทางราง

ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะให้ที่ปรึกษา รับไปดำเนินการ ตลอดจนมอบหมายให้ทปษ.รับความเห็นที่ประชุมไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์