การกำหนดอัตราค่าโดยสาร

การขึ้นอัตราค่าโดยสารในระบบขนส่งมวลชนทางราง ตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization (MRT STD.) ที่ได้มีการนำดัชนีราคาผู้บริการ (แบบไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม) หรือ Consumer Price Index (CPI): Non Food & Beverages (NFB) มาใช้ในการคำนวณการขึ้นอัตราค่าโดยสารใหม่ให้เป็นราคา ณ ปัจจุบัน ซึ่งถูกนำไปใช้ในการคำนวณหาค่าแรกเข้า ค่าโดยสารต่อกิโลเมตร และค่าโดยสารขั้นสูงของระบบขนส่งมวลชนทางรางในรูปแบบต่าง ๆ

โดยการปรับอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนทางรางในแต่ละรูปแบบ มีรายละเอียดได้ดังนี้

การปรับราคาของระบบรถไฟในเมือง

ค่าแรกเข้าปี 2544 : 10 บาท / ค่าโดยสารปี 2544 : 1.8 บาท /กม.

ค่าแรกเข้าปี 2567 : 12.49 บาท / ค่าโดยสารปี 2567 : 2.25 บาท/กม.

ค่าโดยสารขั้นสูงปี 2567 : ค่าแรกเข้า+(ค่าโดยสารตามระยะทางxระยะการเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสารรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (ระยะการเดินทางที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ของการเดินทางโดยระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด (เท่ากับ 13 km))

= 12.49 + (2.25×13) = 42 บาท ต่อการเดินทาง 1 เที่ยว ไม่ว่าจะเดินทางในเส้นทางใดหรือข้ามสาย

———————————————

การปรับอัตราค่าโดยสารของ ระบบขนส่งมวลชนตามเมืองภูมิภาค ปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าโดยสารให้ไม่เกินค่าความเต็มใจในการจ่าย (WTP) ของประชาชนในแต่ละพื้นที่ โดยใช้ค่าเฉลี่ยของอัตราค่าโดยสารใน 7 เมืองภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นตัวแทนสำหรับการกำหนดค่าโดยสารในเมืองภูมิภาค

ค่าแรกเข้า ปี 2567 : ไม่เกินความเต็มใจที่จะจ่ายของประชาชนเฉลี่ยในจังหวัดภูมิภาคที่ 11.51 บาท

ค่าโดยสาร ปั 2567 : ไม่เกินความเต็มใจที่จะจ่ายของประชาชนเฉลี่ยในจังหวัดภูมิภาคที่ 2.07 บาท/กม.

ค่าโดยสารขั้นสูง : ค่าแรกเข้า + (อัตราค่าโดยสารตามระยะทาง X ระยะการเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสารรถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค (ระยะการเดินทางที่ 85 เปอร์เซ็นต์ไทล์ของการเดินทางโดยระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด))

——————————————

การปรับอัตราโดยสารของ รถไฟความเร็วสูง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างต้นทุนกับค่าความเต็มใจที่จะจ่าย (WTP) ของผู้เดินทาง พบว่าต้นทุนค่าดำเนินโครงการและบำรุงรักษา สูงกว่า WTP ดังนั้นอัตราค่าโดยสารจึงไม่ควรสูงเกินค่า WTP ของผู้เดินทาง เนื่องจากอาจทำให้ผู้เดินทางเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการเดินทางอื่น

จึงได้เสนอค่าโดยสารเป็น 2 ช่วงเพื่อให้สอดคล้องกับค่าความเต็มใจที่จะจ่าย (WTP) ที่ไม่เป็นภาระของภาครัฐมากเกินไป

– ระยะ 0 – 300 กม. : ค่าโดยสาร 1.97 บาท/กม.

– ระยะ 301 กม. ขึ้นไป : ค่าโดยสาร 1.70 บาท/กม.

ส่วนค่าแรกเข้านั้นจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน งานระบบต่อผู้โดยสาร 30 ปี สามารถกำหนดค่าแรกเข้าได้ที่ 95 บาท

—————————————

การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารของ รถไฟระหว่างเมือง (รฟท.) ครั้งล่าสุด ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2539 หรือเมื่อ 28 ปีที่แล้ว ซึ่งในขณะนั้นมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ไม่เกิน 157 บาท/วัน เมื่อเทียบกับราคาทองคำ ณ ขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ บาทละ 4,792 บาท และราคาก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ประมาณ ชามละ 15-20 บาท

หากเทียบกับปัจจุบันที่ค่าแรงขึ้นต่ำพุ่งขึ้นไปเป็นประมาณ 354 บาท/วัน คิดเป็นกว่า 2 เท่าตัวจาก 28 ปีที่แล้ว และราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้นไปถึงบาทละ 34,000 บาท และราคาก๋วยเตี๋ยวสูงถึงประมาณชามละ 50-60 บาท ณ พ.ศ.2567

ดังนั้นจึงมีความเห็น สมควรให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารของ รฟท. โดยจะต้องเพิ่มขึ้นไม่เกินค่าเกิน ค่าความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness to Pay) ของประชาชนผู้เดินทางด้วยรถไฟจากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การขึ้นอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25 จากราคาที่ประกาศไว้

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์