การเปรียบเทียบค่าโดยสาร

ดัชนี Big Mac Index เกิดขึ้นในปี 1986 โดยนิตยสาร The Economist สร้างขึ้นจากแนวคิดเรื่อง ความเสมอภาคในการซื้อ (Purchasing Power Parity) มีที่มาจากการนำเมนูบิ๊กแม็คจากร้านแม็คโดนัลด์ที่มีขายอยู่ประมาณ 34,000 สาขาใน 118 ประเทศทั่วโลก มาพิจารณาตามกฎ The law of one price แล้ว Big MAC ในแต่ละประเทศก็ควรจะมีราคาที่เท่ากัน

ตัวอย่าง เช่น เมื่อเปรียบเทียบราคาบิ๊กแมคที่ประเทศไทยพบว่ามี ราคา 128 บาทต่อชิ้น กับบิ๊กแมคที่สหรัฐฯ อยู่ที่ 5.81 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเอามาหารกันเป็นอัตราแลกเปลี่ยนตามทฤษฎีดัชนีบิ๊กแมค ที่ 22.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าเงินปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ดังนั้น เงินบาทจึงมีมูลค่าอ่อนหรือต่ำกว่าความเป็นจริงตามทฤษฎีบิ๊กแมค (Undervalue) ประมาณ 33.8% หรือมีราคาถูกกว่าถึง 33.8% ในสายตาของคนต่างชาติ โดยได้รวบรวมข้อมูลดัชนี Big Mac เพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบดังรูป

กลับมาที่ค่ารถไฟ

ในราคาปัจจุบันเมื่อเทียบเป็นหน่วยบาทพบว่าค่าโดยสารสายสีเขียวและสายสีน้ำเงินของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แล้วมีราคาค่าโดยสารที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเกาะฮ่องกง แต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนสายจะมีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าต่างระบบเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นกราฟราคาค่าโดยสารเมื่อมีการเปลี่ยนสายจะสูงกว่าประเทศอื่น ๆ อยู่มาก

ดังนั้นการลดค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนเมื่อมีการเปลี่ยนสายจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและจะทำให้ค่าโดยสารทั้งระบบในภาพรวมมีความใกล้เคียงกับประเทศอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น และเมื่อมีนโยบายค่าโดยสาร 20 บาท ของสายสีแดงและสายสีม่วง พบว่า ค่าโดยสารในภาพรวม มีราคาที่ต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาะฮ่องกงอยู่มาก เพราะนโยบายค่าโดยสาร 20 บาท เป็นการคำนวณค่าโดยสารแบบ Flat rate แตกต่างจากการเปรียบเทียบกับรูปแบบที่ยกตัวอย่างมาซึ่งเป็นการคำนวณอัตราค่าโดยสารแบบ Distance base fare จึงทำให้ค่าโดยสารของสายสีแดงและสายสีม่วงที่สูงสุดที่ 20 บาทนั้นต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์