มาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบราง

มาตราการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบราง สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ

1. ด้านจราจร ประกอบด้วยมาตรการ Feeder เพื่อส่งเสริมการเดินทางของผู้ใช้บริการทั้งในและนอกเขตเมืองเข้าใช้บริการระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับประชาชนในการเพิ่มความสะดวกสบายของผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณเขตรอบเมืองให้สามารถเดินทางเข้ามาให้งานระบบขนส่งทางรางได้ ที่จากเดิมอาจจะต้องเดินทางหลายต่อเพื่อไปยังสถานี และลดปัญหา First mile และ Last mile ที่ผู้เดินทางต้องใช้เวลานานและยากต่อเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ

2. ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย Flat Fare Zone (Zone fare) อัตราค่าโดยสารแบบคงที่คำนวณจากเขตพื้นที่การเดินทางในเขตเมือง ในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร และ Accessibility จัดพื้นที่จอดจักรยาน ฯลฯ และสิ่งอำนวยความสะดวกของกลุ่มพิเศษ (ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ) เพื่อเข้าใช้บริการระบบขนส่งมวลชนทางรางได้อย่างสะดวก

3. ด้านการส่งเสริมการเดินทาง ประกอบด้วย

– Intermodal ส่วนลดในการเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งหลายรูปแบบมา,

– Samile ไมล์คะแนนการเดินทางจากการเดินทางของระบบขนส่งทางราง และ ทางอากาศ มาเป็นส่วนลดในการใช้ระบบขนส่งมวลชนทุกระบบ,

– Student Pass/ Semester Pass บัตรส่วนลดในการเดินทางเฉพาะนักเรียน นักศึกษาที่มีสถานศึกษาติดหรือใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าตามบริเวณที่กำหนด,

– Operator Support เอกชนผู้รับสัมปทานสนับสนุนหรือเสนอมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการเดินทางในเส้นทางที่ได้รับสัมปทาน,

– Free Boarding มาตรการยกเว้นค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ/มาตรการส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้หลักการการจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และ

– Design for Aging & Disable Society จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ หรือคนชรา สามารถเข้ามาใช้การขนส่งมวลชนทางรางได้อย่างสะดวกสบาย

4. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับระบบตั๋วร่วม ประกอบด้วย

– Smart Ticket เชื่อมโยงระบบการชำระเงินในการเดินทางผ่านระบบเดียวกันโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เสริมมาตรการตั๋วร่วม เพิ่มความสะดวกในการชำระค่าโดยสาร และจูงใจให้ผู้โดยสารหันมาใช้ระบบการขนส่งทางรางมากขึ้น

– Free Boarding เป็นการยกเว้นค่าแรกเข้า

5. ด้านการเงิน ประกอบด้วย มาตรการ

– Employee Fare นิติบุคคลที่สนับสนุนค่าเดินทางของพนักงานในการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางสามารถนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง ในการคำนวณรายได้สำหรับภาษีนิติบุคคล และ

– Tax / Financial / Permission Benefit สนับสนุนเอกชนให้เข้าร่วมมาตรการโดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ อำนวยความสะดวกในการให้ใบอนุญาตต่าง ๆ ให้กับภาคเอกชนเข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการขนส่งทางราง ที่ส่งเสริมการลดค่าใช้จ่ายภาษีรายปีของนิติบุคคล และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงาน แต่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบที่รัฐอาจจัดเก็บภาษีเงินได้หรือค่าธรรมเนียมลดลงจากการให้ส่วนลดภาษีเงินได้กับเอกชนผู้ประกอบการที่ดำเนินการตามมาตรการ

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์