มาตรการอุดหนุนและชดเชยรายได้

แหล่งที่มาของเงินอุดหนุนค่าโดยสาร สามารถแบ่งเป็น 2 แหล่งเงินทุน ได้แก่

1. กลุ่มเงินอุดหนุนจากภาษี ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่

– ภาษีลาภลอย (windfall gains tax) กำหนดเพดานภาษีไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามแนวรถไฟฟ้า จัดเก็บภาษีลาภลอยจากที่ดินและห้องชุด

– ภาษีมูลค่าที่ดิน (land value tax) เเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

– ภาษีโลกร้อน (emission tax) ออกกฎหมายให้กรมสรรพสามิตเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และให้กระทรวงการคลังนำเงินได้จัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กับกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม

2. กลุ่มเงินอุดหนุนจากภาคการขนส่ง ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่

– ค่าโดยสารล่วงหน้า (pre-paid fare) ผลตอบแทนการลงทุนของกองทุนตั๋วร่วมจากเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ผู้โดยสารเติมเงินล่วงหน้า ผ่าน Application ของรัฐ

– ภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลต่ำกว่า 7 ที่นั่ง (Passenger car tax) กำหนดภาษีส่วนเพิ่มเพื่อใช้อุดหนุนระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองให้มีการเก็บภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งเพิ่มสำหรับรถที่จดทะเบียนในพื้นที่ หรืออำเภอ ที่มีระบบขนส่งทางรางให้บริการ

– ค่าจราจรติดขัด (Congestion Charge) โดยมีแนวทางที่ให้ผู้ใช้รถขับรถเข้ามาในบริเวณที่กำหนดในเขตเก็บเงินค่าธรรมเนียมจราจรหนาแน่น (Congestion Charge zone) ลงทะเบียนและมีการชำระเงินเพื่อเข้าพื้นที่ Congestion Charge zone โดยจะมีการตรวจสอบการเข้ามาผ่านระบบ RFID ที่มีใน License Plate หรือระบบอื่น ตามช่วง วัน เวลา ที่กำหนด

3. กลุ่มเงินอุดหนุนจากการประกอบการของหน่วยงานรัฐ ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่

– กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม(Common ticket fund) กองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วมประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินจากภาษีที่ได้รับจัดสรรตามอัตราส่วนที่กำหนด หรือเงินได้จากการจ่ายค่าโดยสารล่วงหน้า (Advance Payment) นำมาบริหารแล้วได้ผลตอบแทนการลงทุน เผื่อจัดการรายได้ของกองทุน

– รายได้ค่าสัมปทาน (Concession revenue) โดยที่หน่วยงานเจ้าของโครงการนำรายได้จากผลตอบแทนค่าสัมปทานหลังหักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายและภายหลังที่มีการดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ

– รายได้จากค่าโดยสาร (Fare income) โดยที่หน่วยงานเจ้าของโครงการ (รฟม. รฟท. กทม.) นำรายได้

จากค่าโดยสารหลังหักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายและภายหลังที่มีการดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ

4. เงินทุนภายในหน่วยงานเจ้าของโครงการ ประกอบด้วย 1 มาตรการ ได้แก่

– สร้างมูลค่าก๊าซคาร์บอน (Carbon credits) นำข้อมูลการใช้ก๊าซให้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ประเมินราคาและขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากการดำเนินการระยะยาว

หน่วยงานที่ประกาศ

กลุ่มประชาสัมพันธ์

เรื่องอื่นๆในหมวดหมู่ข่าวประชาสัมพันธ์